กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่วนวิจัยและพัฒนา ศูนย์พัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ฯ Download Files
ประมวลภาพกิจกรรม
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 เวลา 15.30 น. เจ้าชายทูโพโทอา อูลูคาลาลา มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรตองกา เสด็จพระราชดําเนิน พร้อมด้วย เจ้าหญิงแองเจลิกา ลาทูฟูอีเพคา ทูคูอาโฮ เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรตองกาประจําราชอาณาจักรไทย ทรงเยี่ยมชมงานด้านการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติของประเทศไทย ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย โดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้บริหารกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และข้าราชการ เฝ้ารับเสด็จฯ ในการนี้ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กราบบังคมทูลรายงานสรุปแนวทางการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะหน่วยงานกลางดําเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ได้ถวายรายงานเกี่ยวกับภาพรวมการบริหารจัดการสาธารณภัยของไทย กฎหมายและแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ ระบบการแจ้งเตือนภัย และระบบการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งนี้ ราชอาณาจักรตองกาเป็นประเทศที่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง โดยเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 ได้เกิดภัยพิบัติจากการปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและคลื่นสึนามิ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งการเสด็จฯ เยือนในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรตองกา จะได้ร่วมหารือถึงแนวทางการเตรียมการรับมือความท้าทายในอนาคต ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งในการรับมือภัยพิบัติ และถือเป็นจุดเริ่มต้นนําไปสู่ความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติระหว่าง 2 ประเทศต่อไป The Royal visit of His Royal Highness Prince Tupouto’a ‘Ulukalala, Crown Prince of the Kingdom of Tonga and Her Royal Highness Princess Angelika Latufuipeka Tuku’aho, Ambassador of the Kingdom of Tonga to the Kingdom of Thailand to the Department of Disaster Prevention and Mitigation. On 9 May 2023 General Anupong Paojinda, Minister of Interior, Mr. Boontham Lertsukekasem, Director-General of the Department of Disaster Prevention and Mitigation (DDPM), and executives received His Royal Highness the Crown Prince Tupoto’a Ulukala and Her Royal Highness The Princess Angelika Latufuipeka Tuk’aho of The Kingdom of Tonga, Ambassador of the Kingdom of Tonga to the Kingdom of Thailand on the occasion of their Royal Highnesses visit to the Department of Disaster Prevention and Mitigation. The Royal visit to DDPM was part of Their Royal Highness’s interest in Thailand Disaster Management System, especially disaster early warning system. On this occasion, DDPM provided briefing on the topics of National Disaster Prevention and Mitigation Plan, Law and Regulations, Structure of Incident Command and Early Warning Systems and the law on emergency relief fund. The Kingdom of Tonga is located in a disaster prone area. On 14 January 2022, the Kingdom of Tonga experienced volcanic eruption and tsunami which resulted in tremendous losses of life and damage to the whole kingdom. Today’s Royal visit presents a good opportunity to develop close cooperation on disaster management and on how to prepare for the future challenges and how to safeguard the country resiliency between the Kingdom of Tonga and the Kingdom of Thailand in the future.
ปภ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคด้านการจัดการภัยพิบัติ ผลักดันการส่งเสริมความร่วมมือที่เข้มแข็ง เพื่อการฟื้นฟูภายหลังโควิด-19 สู่การขับเคลื่อน “OPEN.CONNECT. BALANCE.” วันที่ 18-19 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคด้านการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 2565 มุ่งผลักดันการส่งเสริมการลดความเสี่ยงและการส่งเสริมความร่วมมือที่เข้มแข็งเพื่อการฟื้นฟูภายหลังโควิด-19 เพื่อขับเคลื่อนหัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” (OPEN.CONNECT. BALANCE.) โดยมีผู้แทนจาก 18 เขตเศรษฐกิจ รวมกว่า 80 คน เข้าร่วมการประชุมทั้งแบบ Onsite และ Online นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในวาระที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานเขตเศรษฐกิจเอเปค กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะหน่วยงานหลักรับผิดชอบด้านการจัดการภัยพิบัติของไทย (Focal point) ได้ร่วมมีบทบาทในการเป็นเจ้าภาพการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานด้านการเตรียมความพร้อมต่อเหตุฉุกเฉิน (18th Emergency Preparedness Working Group Meeting: EPWG) ครั้งที่ 18 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ 15 (15th Senior Disaster Management Officials Forum: SDMOF) ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 (APEC SOM 3) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 2565 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้แทนจาก 18 เขตเศรษฐกิจ รวมกว่า 80 คน เข้าร่วมการประชุมทั้งแบบ Onsite และ Online ซึ่งในวาระสำคัญนี้ประเทศไทยได้มุ่งผลักดันและเน้นย้ำประเด็น “การส่งเสริมการลดความเสี่ยงและการส่งเสริมความร่วมมือที่เข้มแข็งเพื่อการฟื้นฟูภายหลังโควิด-19” (Promoting Disaster Risk Reduction and Strengthening Partnership toward Resilient Recovery after Covid-19) เพื่อร่วมขับเคลื่อนหัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” (OPEN.CONNECT. BALANCE.) รวมทั้งยังจะได้ผลักดันความร่วมมือในการขับเคลื่อนกรอบเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการสร้างเมืองและสาธารณูปโภคที่ปลอดภัย สามารถรับมือและฟื้นตัวกลับจากภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็ว “ผลลัพธ์จากการประชุมทั้ง 2 การประชุม จะนำไปสู่การร่างแผนงานในด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของเอเปค ปี 2023 และเสริมสร้างความร่วมมือ ความรู้ ความเข้าใจ แบ่งปันประสบการณ์และการปฏิบัติที่ดีเพื่อทำให้สมาชิกเขตเศรษฐกิจมีความร่วมมือในด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติมากยิ่งขึ้น” นายบุญธรรมกล่าวเพิ่มเติม สำหรับการจัดประชุมคณะทำงานด้านการเตรียมความพร้อมต่อเหตุฉุกเฉิน (18th Emergency Preparedness Working Group Meeting: EPWG) ครั้งที่ 18 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ 15 (15th Senior Disaster Management Officials Forum: SDMOF) จะได้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนแผนงานประจำปีของ EPWG การเสนอโครงการสำหรับปี 2023 การแบ่งปันประสบการณ์จากคณะทำงานอื่นๆ และการหารือในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของเอเปค โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การแสดงปาฐกถา โดย ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่อง การฟื้นฟูหลังสถานการณ์โควิด-19 อย่างสมดุลและเข้มแข็งในมุมมองของท้องถิ่น (Strong and Balanced Recovery after COVID-19: Local Prospective) การนำเสนอแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการนำเสนอการขับเคลื่อนปฏิญญากรุงเทพและประเด็นการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติด้านสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค การนำเสนอเทคนิคการสื่อสารเมื่อเกิดภัยพิบัติในโลกยุคดิจิทัล โดยคุณดาริน กำเนิดรัตน์ ผู้สื่อข่าวอิสระ รวมถึงการลงพื้นที่ศึกษางานด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับชุมชน ณ เทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขับเคลื่อนการทำงานในระดับพื้นที่ตามหลัก good governance ถือเป็นต้นแบบของ ‘ชุมชนร่วมพัฒนาพื้นที่ มุ่งบริหารจัดการน้ำ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทั้งจากกรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asia Disaster Preparedness Center: ADPC) และสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งองค์กรสหประชาชาติ (UN office for Disaster Risk Reduction: UNDRR) ในการร่วมเป็นวิทยากรและแบ่งปันประสบการณ์ด้านการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย และให้การสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในครั้งนี้อย่างสมบูรณ์ ////
ปภ.ผลิตและพัฒนาเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนระบบอัตโนมัติ - ส่งมอบแก่ 36 จังหวัดเสี่ยงภัย สนับสนุนการแจ้งเตือน - ป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยเชิงรุก วันนี้ (17 ส.ค.65) เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม 3 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นประธานมอบนโยบายและส่งมอบเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนระบบอัตโนมัติให้แก่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 36 จังหวัด เพื่อสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเชิงรุกในระดับพื้นที่ โดยมีผู้บริหาร ปภ. และ ปภ.จังหวัด เข้าร่วมรับมอบนโยบายฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสการสถาปนากระทรวงมหาดไทยครบรอบ 130 ปี ในปี พ.ศ.2565 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดทำโครงการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเชิงรุก ดำเนินการผลิตและพัฒนาเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนระบบอัตโนมัติ จำนวน 130 ชุด เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้วัดปริมาณน้ำฝนและแจ้งเตือนภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิด ซึ่งได้กำชับให้ปภ.จังหวัดพิจารณาจัดสรรและติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงและสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะจุดที่อุปกรณ์ชำรุดเสียหายและจุดเสี่ยงภัยที่จำเป็นต้องติดตั้งเร่งด่วน มีแนวโน้มเกิดอุทกภัยและดินโคลนถล่ม หรือพื้นที่เสี่ยงภัยที่เข้าถึงได้ยาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเตือนภัยแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและทันต่อเหตุการณ์ สำหรับโครงการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเชิงรุก เนื่องในโอกาสการสถาปนากระทรวงมหาดไทยครบรอบ 130 ปี ในปี พ.ศ.2565 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดำเนินการผลิตเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน จำนวน 130 ชุด ซึ่งมีต้นแบบมาจากเครื่องวัดปริมาณน้ำระบบอัตโนมัติที่เจ้าหน้าที่ ปภ. ได้คิดค้นและพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมภายใต้โครงการประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามยุทธศาสตร์ ปภ. พ.ศ.2565 - 2570 โดยการทำงานของเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนที่ผลิตในครั้งนี้ นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลปริมาณน้ำฝนเพื่อการคาดการณ์สถานการณ์ในแต่ละพื้นที่แล้ว เมื่อมีฝนตกหนักและปริมาณน้ำฝนถึงค่าระดับเกณฑ์ที่กำหนด ตัวเครื่องจะส่งสัญญาณ ในลักษณะเสียงไซเรนและไฟวับวาบ เพื่อแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่และประชาชนเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ ซึ่ง ปภ.จะได้ต่อยอดขยายผลการผลิตและติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนดังกล่าวให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยในแต่ละจังหวัดในระยะต่อไป
วันนี้ (4 ส.ค. 65) ที่โรงแรม อัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3) พร้อมนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และคณะผู้บริหารฯ ได้เยี่ยมชมมาร์เก็ตเพลสนวัตกรรมด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 17 บูธ ที่จัดแสดงภายในงานสัมมนาเชิงวิชาการ “ในโอกาส 2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3” ซึ่ง ศูนย์พัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ฯ สว. ได้จัดแสดงนวัตกรรมในการแจ้งเตือนภัยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมร่วมด้วย
ปภ.เปิดเวทีสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการภัยพิบัติ “ในโอกาส 2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3” สร้างพลังเครือข่ายมุ่งสู่ทศวรรษใหม่ของการจัดการสาธารณภัยที่ยั่งยืน วันนี้ (4 สิงหาคม 2565) เวลา 10.15 น. ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการสาธารณภัย “ในโอกาส 2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3” (DDPM’s efforts to achieve a safe and sustainable disaster management in forthcoming decade) ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดขึ้น เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสาธารณภัยเชิงรุกของประเทศ โดยมีนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย นายบรรจบ จันทรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายสมเกียรติ ถนอมกิตติ รองอธิบดีกรมที่ดิน นายสักรินทร์ อินทรสถิตย์ ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นายนิกม์ แสงศิรินาริน ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร นายสมชาย อัศวินเรืองชัย นางโสภาพรรณ ตันติภนา เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ นายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงผู้แทนหน่วยงานภาคีเครือข่าย อาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการจัดการภัยพิบัติ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา รวมกว่า 500 คน เข้าร่วมการสัมมนาฯ โอกาสนี้ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้กล่าวปาฐกถา (เทป) หัวข้อ “การก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปภ.” ในงานสัมมนาครั้งนี้ด้วย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานพิธีเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการสาธารณภัย “2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3” และปาฐกถา หัวข้อ “แนวโน้มการจัดการสาธารณภัยมุ่งสู่ทศวรรษที่ 3” ว่า ปัจจุบันเราจะเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าสาธารณภัยนั้นเป็นประเด็นท้าทายอย่างยิ่งของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดที่รวดเร็วและรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะนับได้ว่าเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนและทุกมิติจะต้องร่วมมือร่วมใจกันเตรียมความพร้อมการจัดการสาธารณภัยเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น เป็นที่ทราบกันดีกว่าการจัดการสาธารณภัยนั้นไม่สามารถดำเนินการได้เพียงหน่วยงานเดียว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ในฐานะหน่วยงานกลางของรัฐในดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ และสื่อมวลชน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการสาธารณภัย เพราะภัยพิบัติเกิดขึ้นในพื้นที่ ท้องถิ่นจึงเป็นกลไกแรกในการเข้าไปบริหารจัดการสาธารณภัยระดับพื้นที่ ดังนั้น การจัดการสาธารณภัยของประเทศที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพนั้นเราจะต้องให้ความสำคัญและสร้างความเข้มแข็งในการการบริหารจัดการสาธารณภัยตามวงจรการลดความเสี่ยงสาธารณภัยที่ครอบคลุมทั้งการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การจัดการในภาวะฉุกเฉิน และการฟื้นฟูบูรณะที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า ขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบสองทศวรรษของการจัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของรัฐที่มุ่งมั่นแน่วแน่ในการบูรณาการการจัดการสาธารณภัยบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมาโดยตลอด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการก้าวเดินไปสู่ทศวรรษที่ 3 ของการจัดการสาธารณภัย จะต้องเป็นการขับเคลื่อนด้วยการร่วมแรง ร่วมใจและสานพลังของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเริ่มต้นจากพลังท้องที่และท้องถิ่นบูรณาการในการมุ่งไปสู่การสร้างพลังแห่งการจัดการสาธารณภัยร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยจากสาธารณภัยอย่างยั่งยืน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้ปาฐกถา (เทป) หัวข้อ “การก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปภ.” ว่า การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศเราถือว่าดำเนินการได้ดีในระดับหนึ่ง ทั้งในด้านนโยบายและการเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม หากสามารถเพิ่มศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทุกมิติได้ ก็จะทำให้สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชน และสร้างความปลอดภัยจากสาธารณภัยอย่างยั่งยืนได้ การบริหารจัดการสาธารณภัยตามนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ และกรอบของ UN จึงต้องมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงภัยในทุกมิติและการเตรียมพร้อมในทุกระดับอย่างเข้มแข็ง ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ไม่ว่าจะในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องสามารถบูรณาการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของกฎหมายและแผนเดียวกันได้อย่างเป็นระบบ เพื่อเสริมให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการจัดการสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ได้บูรณาการบริหารจัดการสาธารณภัยตามกรอบและทิศทางการปฏิบัติงานด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศครอบคลุมในทุกมิติและ ทุกระดับอย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการเป็นเอกภาพและทำงานแบบเสริมกำลังกัน โดยตลอดระยะเวลา 20 ปี ของ ปภ. ได้ผลักดันการบูรณาการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้แก่หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง งานสัมมนาที่ได้จัดขึ้นในวันนี้ เป็นการส่งเสริมแนวคิดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและนำไปสู่การเตรียมพร้อมบริหารจัดการสาธารณภัยเชิงรุก โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิดทางวิชาการ และผลการดำเนินงานด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ร่วมกันระหว่าง ปภ. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย อาสาสมัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการจัดการภัยพิบัติ รวมถึงยังเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นการจัดภัยพิบัติในมิติต่างๆ กับนักวิชาการที่มากประสบการณ์ในหลากหลายสาขาวิชาชีพ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติของประเทศ เพื่อนำไปสู่การบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับงานสัมมนาเชิงวิชาการ “2 ทศวรรษ ปภ. เพื่อก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 (DDPM’s effort to achieve a safe and sustainable disaster management in forthcoming decade) จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4 – 5 สิงหาคม 2565 ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลากหลายรูปแบบ อาทิ เวทีเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับประเด็นการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยในมิติต่าง ๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสายงานด้านจัดการภัยพิบัติจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา สถาบันวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรระหว่างประเทศ ภาคเอกชน มูลนิธิ นอกจากนี้ ยังมีมาร์เก็ตเพลสนวัตกรรมด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จาก ปภ. และหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการจัดการภัยพิบัติ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา อาทิ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด บริษัท เอสเอฟเทค เทคโนโลยี จำกัด บริษัท เมอร์เมด บางกอก จำกัด บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และบริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด ที่มาร่วมจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดการสาธารณภัยและเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อาทิ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ โดรนกู้ภัย โดรนสำรวจ สถานีฝึกดับเพลิงแบบ VR ชุดยานยนต์สนับสนุนงานกู้ภัยแบบควบคุมด้วยระบบควบคุมระยะไกล เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเชิงรุก ระบบประมวลน้ำฝนแบบ Real-Time แอปพลิเคชันพ้นภัยการจำลองพื้นที่เกิดเหตุอาคารถล่ม เครื่องมืออุปกรณ์และหุ่นจำลองนักกู้ภัย นวัตกรรมควบคุมเพลิงไหม้ระดับอวกาศ อุปกรณ์สำหรับหน่วยปฏิบัติการใต้น้ำ ฯลฯ ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถรับชมการสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ ถ่ายทอดสดผ่านทาง YouTube ช่อง ‘สถานีข่าวปภ.’
ข่าวประชาสัมพันธ์
โดยความร่วมมือระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงสาธารณสุข และ UNDRR ในช่วงเดือนมกราคม จำนวน 4 ครั้ง ผ่านโปรแกรม ZOOM
PM 2.5 getting to affect on health: Central Regions: Samut Sakorn, Samut Prakarn, Bangkok High Tide of the Sea level at the estuay areas and the Coastal low land area. Central Regions: Samut Sakorn, Samut Song Kram, Samut Prakarn, ChachengSaew, Chonburi, Rayong, Chanthaburi, Trad, Petchaburi, Prachuap KiriKan, Bangkok South Regions: Chumpron, Surat Thani, Nakorn Sri thammarat, Songkla, Pattani, Narathiwat
High Tide of the Sea level at the estuay areas and the Coastal low land area. Central Regions: Samut Sakorn, Samut Song Kram, Samut Prakarn, ChachengSaew, Chonburi, Rayong, Chanthaburi, Trad, Petchaburi, Prachuap KiriKan, Bangkok South Regions: Chumpron, Surat Thani, Nakorn Sri thammarat, Songkla, Pattani, Narathiwat
prepare for the variety of weather starting from THE TEMPERATURE DROPPED BY 2-3 CO WITH COOL TO COLD AND WINDY WITH THE OUTBREAK OF ISOLATED THUNDERSHOWERIN SOME AREAS OVER THE LOWER NORTHEAST with tHE REMAINING OF ISOLATED THUNDERSHOWER WITH TEMPERATURE DROPPED BY 1-3 CO FORECAST IN THE NORTH AND THE CENTRAL INCREASING RAIN AND ISOLATED HEAVY RAIN IN THE SOUTH with rough wave in the sea and in the gulf
prepare for variable weather as the temperature dropped and cool to cold with windy are likely in the most of the country while the more rain is still in the South.
สรุปผลการประชุม
“พลิกโฉมประเทศไทยสู่ สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”
(Damage and Needs Assessment : DANA)<br />เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 นายชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพการประเมินความต้องการความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติ (Damage And Needs Assessment : DANA) ณ โรงแรม เอสดี อเวนิว บางพลัด กรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาทักษะด้านการประเมินความต้องการความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติ (Damage And Needs Assessment : DANA) และมีส่วนร่วมในการจัดทำแนวทางการประเมินความต้องการความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติที่จะนำไปสู่การตัดสินใจสั่งการระดมทรัพยากรในการให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วทั่วถึง ทันเหตุการณ์ ตรงตามหลักการด้านมนุษยธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันพุธที่ 15 พฤษภาคม ๒๕62 ณ โรงแรม เอสดี อเวนิว บางพลัด กรุงเทพมหานคร<br />จัดทำโดย ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สามารถ Download แบบฟอร์มและคำอธิบาย รวมไปถึงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและโคลนถล่ม ปี 2558-2560 ได้ที่นี่
โครงการศึกษาและพัฒนาระบบประเมินความต้องการความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติ สู่มาตรฐานสากล<br />วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00 – 15.00 น.<br />ณ ห้องประชุมธานี ชั้น 1 โรงแรมเอสดี อเวนิว บางพลัด กรุงเทพมหานคร
งานวิจัยและสิ่งพิมพ์
เข้าสู่เวปไซต์หลักกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย